สรุปคอร์ส : Introduction to Data Studio จาก Google Analytics Academy EP.2
หลังจากที่ EP.1 Data Studio overview ได้พาทุกคนไปรู้จักหลักการทำงานเบื้องต้นของ Data Studio กันมาแล้ว เรามาเริ่มสร้าง Report & Dashboard ด้วย Data Studio กันต่อออ ใน EP.2 Build your report & dashboard เลย
ใครลืมสามารถย้อนกลับไปทบทวน EP.1 ได้ ที่นี่
เนื้อหาในคอร์สมีอะไรบ้าง
EP.1 Unit 1: Welcome to Data Studio
EP.1 Unit 2: Navigate Data Studio
EP.2 Unit 3: Build your first report
EP.2 Unit 4: Format and Design Reports
Unit 3: Build your first report
Connect Data
เริ่มต้นจากการเชื่อมต่อกับข้อมูลที่นำมาทำ Dashboard โดยข้อมูลที่ใช้ เป็นข้อมูล public ที่เปิดให้ทุกคนสามารถ Load มาใช้ได้ แต่เราจะนำมันมาดัดแปลงนิดหน่อยเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาใน EP.2 มากขึ้น ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
ทำการเชื่อมต่อโดย คลิก Create > Data Source > Google Sheets และเลือกชีทที่เราต้องการ เลือกชีทชื่อ Transaction ดูตัวอย่างได้ตามคลิปด้านล่าง
จากนั้นกดปุ่ม Create Report จะมีหน้าต่างหน้าตาแบบด้านล่างขึ้นมาให้กด Add to report เพื่อยืนยันที่จะสร้าง Report ด้วย Data ที่เรา add เข้าไป
Create a new report and add charts
มาเริ่มสร้าง Report และ Chart ลงไปใน Canvas กันเลย เริ่มจากการตั้งชื่อ Report นี้ก่อน
Time Series Chart
เราลองมาสร้าง Chart ง่ายๆ เริ่มจาก Time series ที่เหมาะกับการดูข้อมูลเป็นช่วงเวลา คลิกที่ปุ่ม Insert > Time series
ได้ Time series chart มาแล้วววว ทำไมมันง่ายขนาดนี้ แต่เอ๊ะทำไมมันอ่านข้อมูลไม่รู้เรื่องเลยอะ ก็เพราะ Data Studio มันเลือก Dimension และ Metric ให้เราออโต้ไงล่ะ
ถ้างั้นเราลองมาเลือก Dimension และ Metric รวมถึงการปรับแต่งเจ้า Time series chart กันซักนิดนึง ตอนนี้ถ้าเรามอง Editor ด้านขวามือ จะเห็นว่า Data source ของเรามี Dimension : Order Date ที่เป็นข้อมูลชนิดของเวลา และมี Metric : Quantity ที่เป็นข้อมูลจำนวนของสินค้าที่ขายได้ (ในกรอบสีแดง)
เนื่องจาก Dimension เป็น Order Date อยู่แล้ว เราก็แค่ลากเจ้า Quantity มาเป็น Metric แทนตัว Record Count เพื่อทำให้ Chart มีความหมายมากขึ้น และอย่าลืมขยายขนาดของ chart ด้วยยย
เรายังสามารถปรับแต่ง Chart โดยเข้าไปที่แถบ STYLE ซึ่งเราจะเปลี่ยนสี Chart และเพิ่ม Title ของแกน X กะ Y ได้ที่นี่แหละ
และยังเปลี่ยนการแสดงผลของวันที่เพื่อให้อ่าน Chart ได้ง่ายขึ้นด้วย โดยการ Custom dimension คลิกที่รูปดินสอ ข้างๆ Dimension จากนั้นทำการ Change date format ลองเปลี่ยนเป็น Year Month ดูว่า Chart ของเราจะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน
ลองกด View Mode ทางขวาบนเพื่อดูกราฟ ที่เราทำการ Change date format เรียบร้อยแล้ว โอ้โหหหห ดูดีขึ้นเยอะ อ่านง่ายยยยย
Score card
เราลองสร้าง Score card เข้าไปเพิ่มใน Canvas ได้ เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้ Report ของเราดูมีข้อมูลมากขึ้น คลิกที่ปุ่ม Insert > Score card และเลือก Metric ให้เป็น Quantity เช่นกัน
ถ้าไม่ชอบ Text ที่แสดงอยู่เหนือตัวเลขใน Score card เราก็แก้มันได้ คลิกที่รูปดินสอข้างๆ Metric แบบเดียวกับที่เราทำกับ Dimension ก่อนหน้านี้ จากนั้นเราสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปใหม่ได้เลย ตรงนี้เรายังเปลี่ยน Aggregation type ได้อีกด้วยหากเราต้องการ
จากนั้นลองกด View Mode เพื่อดูหน้าตา Report ของเรา จะเห็นว่าเริ่มอ่านข้อมูลได้หลายมุมขึ้น ดูแนวโน้มของจำนวนสินค้าที่ถูกสั่งซื้อได้แต่ละช่วงเวลาผ่าน Time series chart และยังมียอดรวมของสิ้นค้าทั้งหมดผ่าน Score card อีกด้วย
Custom field
เราลองมาเพิ่ม Custom field เพื่อทำให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้น โดยเข้าไปที่ไอคอนดินสอ ตรง Data souce เพื่อปรับแต่ง Data source
จากนั้นกดปุ่ม ADD A FIELD ที่อยู่ทางขวาบน
เราจะทำการเพิ่ม Field หรือคอลัมน์ใหม่ ที่ชื่อว่า Total sales โดยจะเอา Sales ที่เป็นราคาสินค้าต่อชิ้น ไปคูณกับ Quantity ที่เป็นจำนวนสินค้าที่ขายได้ เพื่อนำมาดูยอดขายสินค้าในแต่ละ Order ตามภาพด้านล่าง
เมื่อกด Save เรียบร้อย เราจะได้ Field ที่ชื่อ Total Sale ออกมาไว้ใช้งานต่อไป ทำไมมันง่ายแบบนี้เนี่ย
Add and configure report controls
เราสามารถเพิ่ม Report controls เพื่อให้ Report ของเราทรงพลังมากยิ่งขึ้น
Date range control
เป็น Filter ที่ใช้เลือกช่วงเวลาของ Report โดยจะแสดงเป็นปฏิทินขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
วิธีการใช้งาน Date range ต้องเปลี่ยนเป็น View Mode ก่อน จากนั้นคลิกที่ Drop down ปฏิทินจะแสดงออกมา ให้เราเลือกช่วงเวลาของข้อมูลที่เราต้องการ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2017– 31 Dec 2017 ตามรูปด้านล่าง
เมื่อกด APPLY ข้อมูลจะแสดงผลในช่วงเวลาที่เราเลือกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใน Time series chart และใน Score card
นอกจากนั้นเรายังกำหนดให้แสดง % Change บน Score card ได้ด้วยเพื่อให้เข้ากับ Date range control คลิกที่ Edit Mode ไปที่ Score card > Comparison date range
จากนั้นเลือกให้เป็น Previous period เพื่อให้แสดง % Change เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า เช่น ถ้าเลือกช่วงเวลาเป็น 1 Jan 2017 – 31 Dec 2017 ก็จะแสดง % Change เทียบกับ 1 Jan 2016 – 31 Dec 2016
ลองเข้าไปที่ View Mode แล้วเลือกช่วงเวลาใน Date range control เหมือนเดิมคือ 1 Jan 2017 – 31 Dec 2017 จะเห็นเวลา มี % Changes ให้เราเห็นบน Score card แล้ว เท่มั่กมากกกก
Filter control
เป็นการเพิ่ม Filter ให้กับข้อมูล Dimension ต่างๆ เช่น Country, Category เพื่อให้สามารถดู Report ได้หลายมิติขึ้น ทำได้โดยการกดที่ Filter control และเลือก Dimension ตามที่เราต้องการ เช่น Country
จากนั้น กดไปที่ View Mode จะเห็นว่าเราเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะประเทศที่เราต้องการได้แล้ว สังเกตว่าเรามีข้อมูลทั้งหมด 4 ประเทศ
ถ้าเพื่อนๆ ลองเลือกแค่ Singapore และ China ก็จะเห็นว่าข้อมูลจะแสดงแค่ 2 ประเทศ
แทนที่เราต้องทำหลายๆ Chart ตามช่วงเวลา หรือแยกประเทศ Dashboard จะมี Chart เยอะเกินไปจนทำให้คนดูอาจจะเหวอได้ หากเราใช้ Date range control ร่วมกับ Filter control และ Date range comparison ก็จะทำให้ Report หรือ Dashboard ของเรา Dynamic ใช้งานง่าย และยังทรงพลังมากขึ้น
Share reports with others
หลังจากเราทำ Report หรือ Dashboard เสร็จแล้ว การ Share ให้คนอื่นก็ไม่ใช่เรื่องยาก คลิกปุ่ม Share และใส่ email ของคนนั้นๆ รวมถึงกำหนดสิทธิ์ได้ด้วย ว่าจะเป็นแค่ View หรือ Edit ซึ่งได้อธิบายอย่างละเอียดไปแล้วใน EP.1
เราลองมาดูการ Share อีกแบบที่เรียกว่า Schedule email delivery
เป็นการส่ง Report แนบไปใน email เพราะบางครั้งผู้บริหารไม่สะดวกในการเปิดเข้ามาดู Dashboard ทุกวัน โดยเราสามารถกำหนดรายละเอียด email ตั้งแต่ ผู้รับ, Subject, Message, ช่วงเวลา, ความถี่ในการส่งได้ด้วย
ลองมาดูหน้าตา email ที่ได้กันดีกว่า หน้าตาออกมาดูดีเลยทีเดียวจ้า
Unit 4: Format and Design Reports
ส่วนสุดท้ายจะเป็นหลักการออกแบบ Report & Dashboard เบื้องต้น
Foundational principles of visual design
เริ่มง่ายๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง 5 ข้อ
- Who is your audience? ใครเป็นผู้ชม
- Why are they invested in these analytics? เหตุผลที่ลงทุนวิเคราะห์ข้อมูล
- What do they already know? อะไรคือสิ่งที่เค้ารู้อยู่แล้ว
- What do they need to know? อะไรคือสิ่งที่เค้าต้องรู้
- How is this information intended to drive action? ข้อมูลเหล่านี้มีเจตนาให้เกิด action อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามเหล่านี้ได้ ก็สามารถออกแบบ Report หรือ Dashboard ให้เหมาะสมกับคนที่ต้องการใช้งานได้อย่างไม่ยากเลย
Chart purposes
การเลือกใช้ Chart มีผลต่อความเข้าใจของคนดู ข้อมูลบางประเภทก็เหมาะกับ Chart บางประเภทเท่านั้น ลองมาดูหลักการใช้งาน Chart แต่ละแบบกันครัชชชชช
Bar chart (Compare dimensions or categories)
ใช้สำหรับเปรียบเทียบข้อมูล Metric โดยใช้ Bar แนวดิ่ง หรือแนวราบ และเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงตัวเลขของ Category ที่แตกต่างกัน ไม่ควรใช้ Bar chart เปรียบเทียบข้อมูลเกิน 12 แท่ง เพราะจะทำให้ยากต่อการเข้าใจ
Line chart (Track changes or trends overtime)
ใช้สำหรับดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา โดยสามารถเปรียบเทียบกันในแต่ละช่วงเวลาได้ด้วย
Score card (Highlight a single, critical metric)
ใช้สำหรับเน้น Metric เป็นรายตัว ซึ่งจะไม่ถูก Group ด้วย Dimension แต่จะยังคงมีผลต่อการใช้ Filter control ต่างๆ และยังสามารถดู % Change เปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลาได้ด้วย แบบที่ทำให้ดูแล้วด้านบน
Pie chart (Understand the composition of a whole set of data)
ใช้เปรียบเทียบข้อมูลแต่ละส่วน มีประโยชน์มากเมื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูลไม่เกิน 3 ชนิด ต้องใช้อย่างระวัง ไม่ควรใช้เปรียบเทียบกันระหว่าง 2 Pie charts เพราะอาจมีปัญหาเรื่องจำนวนของข้อมูลที่ต่างกัน
Geo map (Visualize data in the real world)
ใช้สำหรับการแสดงผลที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เช่น ละติจูด ลองติจูด หรือ พื้นที่ประเทศต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนของ Metric ที่เราสนใจ จะแสดงผลเป็น Heat map
Scatter plot / Bubble chart (Discover relationships between variables)
ใช้สำหรับหาความสัมพันธ์ของ Metric 2 ตัว ที่เป็นตัวเลข หรือเรียกในทางคณิตศาสตร์ว่า Correlation โดยจะมีความสัมพันธ์เชิงบวก หรือเชิงลบ โดยหากเป็น Bubble chart จะสามารถเพิ่ม Metric ที่ 3 เข้ามาในรูปของ Size
Bullet Chart (See how well your data performs against target)
ใช้สำหรับวัดผลข้อมูลที่ได้ เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจจะเห็นกันบ่อยๆ ในรูปแบบของ Gauge เหมือนกับไมล์รถ ใช้บ่อยในการวัด KPI
จริงๆ ยังมี Chart อีกหลายแบบที่อยู่ใน Data Studio ขอเอามาเฉพาะที่ใช้กันบ่อยๆ แล้วกันคร้าบ ทุกคนคงเห็นแล้วว่า Chart แต่ละแบบก็เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ ดังนั้นเวลาเราเลือกใช้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมมาก่อน เพื่อทำให้เราสื่อความหมายผ่านทาง Report & Dashboard ได้ง่ายขึ้น และทำให้คนที่อ่าน Dashboard เข้าใจข้อมูลได้อย่างรวดเร็วด้วย
Course summary
จบลงไปแล้วกับคอร์ส Introduction to Data Studio ของ Google Analytics Academy ตอนแรกกะจะเขียนแค่ EP. เดียว แต่เนื้อหาเยอะกว่าที่คิด เลยต้องแบ่งมาเป็น 2 EP. สำหรับ Data visualize tool ตัวนี้ ส่วนตัวคิดว่ามันก็พัฒนาอะไรออกมาค่อนข้างเยอะเลยจากปีแรกๆ ไว้จะเขียนเกี่ยวกับ New Features ให้อ่านกันสั้นๆ อีกรอบนึง
สิ่งที่ได้จาก EP.2
- Connect to Data
- Create a new report and add charts
- Create a custom field
- Date range, Filter control
- Schedule email delivery
- Foundational principles of visual design
- Chart purposes
ได้ใบ Cer เท่ๆ แบบนี้ด้วยยย
Next step
ทุกคนก็ฝึกสร้าง Dashboard ได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Transaction ของ Credit card ของตัวเอง กรอกผ่าน Google Form และให้มัน Sync เข้ากับ Google Sheet จากนั้น ใช้ Data Studio ในการทำ Dashboard เพื่อหา Insights ของรายจ่าย เพื่อจะหาทางลดรายจ่าย (ทำมาปีฝ่าแล้ววว) อย่างน้อยก็ได้ฝึกใช้ Tool และยังเห็น Insights เพื่อช่วยลดรายจ่ายได้อีก เย้เย้เย้
สุดท้ายนี้หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ถ้าชอบฝากกด Clap ให้ด้วยยย ขอบคุณมากที่ติดตามอ่านครัชชช
ย้อนกลับไปอ่าน EP.1 Data Studio overview ได้ ที่นี่
พูดคุยติชมได้ที่ https://www.facebook.com/Malonglearn